วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา

การศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาบุคคล ให้มีความรู้ มีความสามารถ ในส่วนของสถานศึกษาซึ่งเป็นสถานที่ พัฒนาบุคคล ให้ความรู้ ทักษะต่าง ๆ แก่ผู้ที่เข้ามารับการศึกษา อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ โดยในปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่าง ๆ มีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดนิ่ง และยังอำนวยความสะดวกในหลายเรื่อง ๆ ดังนั้น จึงมีการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ใสถานศึกษาขึ้นอยู่กับความพร้อม และประเภทของสถานศึกษา ในส่วนของโรงเรียนบ้านขุนห้วยแม่ต้าน ได้มีนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ มาใช้ในโรงเรียนโดยแบ่งเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้

ด้านการบริหารจัดการ
ในส่วนของการบริหารจัดการมีการนำเอา โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการ จัดการงานด้านต่าง ๆ เช่น งานทะเบียนนักเรียน ใช้โปรแกรม smis เป็นการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ง่ายต่อการสืบค้น การรับส่งหนังสือราชการทาง e-filing ประหยัดเวลา ในการติดต่อสื่อสาร การจัดทำต้นทุนผลผลิต มีการจัดทำเวบไซต์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร และกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรีย

ด้านการจัดการเรียนการสอน

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ข้อมูลทั่วไป


ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน
ชื่อโรงเรียน บ้านขุนห้วยแม่ต้าน
ตั้งอยู่ที่ 271 หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
รหัสไปรษณีย์ 63150 หมายเลขโทรศัพท์ 055 - 560105

E:mail :Kmt_maetan@hotmail.com


ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา


โรงเรียนบ้านขุนห้วยแม่ต้าน ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา โรงเรียนนี้ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2514 ด้วยเงินงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นอาคารเรียนแบบ ป.1 ซ ขนาด 2 ห้องเรียน โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 60,000 บาท ( หกหมื่นบาทถ้วน ) โดยได้เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2515 มีนายประสาสน์ สุวรรณคำ นายอำเภอท่าสองยางเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเรียนและโรงเรียนได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 5 รูป มาร่วมกระทำพิธีซึ่งมีพระพรม พุทธโบ เจ้าอาวาสวัดแม่ต้านเหนือเป็นประธานฝ่ายสงฆ์และท่านได้ทำการเจริญ พระพุทธมนต์ ในเวลาเย็นของวันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2515 รุ่งขึ้นทางโรงเรียนได้ทำบุญ ตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์และจัดอาหารเลี้ยงผู้ที่มาร่วมงานทุกคน จากนั้นนายอำเภอท่าสองยางได้ทำพิธีเปิดป้ายโรงเรียน พระสงฆ์เจิมป้ายโรงเรียนเป็นอันเสร็จพิธี
หลังเสร็จพิธีแล้ว นายอำเภอท่าสองยางได้ประชุมชาวบ้านและชี้แจงให้ผู้ปกครอง นักเรียนทราบถึงความสำคัญของการศึกษา มีผู้มาร่วมประชุมประมาณ 20 คน และในโอกาสนี้ทาง ท่านนายอำเภอได้แจกเสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว ยารักษาโรค และพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนารถ ไว้เป็นที่ระลึกอีกด้วย
โรงเรียนบ้านขุนห้วยแม่ต้านนี้มีนายมงคล โทวุฒิกุล เป็นครูใหญ่คนแรกในการเปิด ทำการสอนครั้งแรกนั้น มีนักเรียนมาเรียนทั้งสิ้น 24 คน เป็นนักเรียนชาย 22 คน นักเรียนหญิง 2 คน และหมู่ที่ 14 ในขณะนั้นมีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายพะเหระดี
ปีงบประมาณ 2516 ทางโรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู แบบเดี่ยว 1 ชั้น 2 ห้องนอน เป็นแบบกรมสามัญ ราคาก่อสร้างทั้งหมด 25,000 บาท ( สองหมื่นห้าพันบาท)
ปีงบประมาณต่อมาได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วม จำนวน 1 หลัง มี 2 ที่นั่ง ใช้การได้ไม่นานถูกต้นไม้โค่นล้มทับ เนื่องจากพายุพัดแรงปรากฎว่าหลังคาฝาผนังพังหมด
ปีงบประมาณ 2529 ทางโรงเรียนได้งบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียนเป็นเงิน 30,000 บาท ( สามหมื่นบาทถ้วน ) โดยได้ทำการเปลี่ยนหลังคาทั้งหมดและเปลี่ยนฝาทางด้าน ทิศเหนือและทิศตะวันตก ในขณะเดียวกันโรงเรียนก็ได้ขอความร่วมมือจากผู้รับจ้างช่วยกั้นห้องเรียนจาก 2 ห้องเรียน เป็น 3 ห้องเรียนโดยทางโรงเรียนจัดหาวัสดุอุปกรณ์มาให้และผู้รับจ้างช่วยเหลือในเรื่องแรงงานก่อสร้างจนแล้วเสร็จ คิดเป็นมูลค่าในช่วงที่กั้นห้องเรียนนี้ประมาณ 3,000 บาท( สามพันบาทถ้วน )
ในช่วงปีการศึกษา 2529 นี้ทางโรงเรียนได้หางบประมาณมาได้จำนวนหนึ่งโดยร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียน กรรมการศึกษา จัดหาวัสดุอุปกรณ์มาเพื่อล้อมรั้วโรงเรียนโดยร่วมมือกับชาวบ้านจนแล้วเสร็จ หมดค่าใช้จ่าย 2,000 บาท ( สองพันบาทถ้วน ) ซึ่งเมื่อโรงเรียนล้อมรั้วเสร็จแล้วก็ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านมากินและทำลายต้นไม้ในโรงเรียน
ปีงบประมาณ 2530 โดยทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมแบบ สปช.
601/26 จำนวน 1 หลัง มี 2 ที่นั่ง ราคาก่อสร้าง 20,000 บาท ( สองหมื่นบาทถ้วน ) นอกจากนี้ยังได้รับงบประมาณก่อสร้างถังเก็บน้ำฝนอีก 1 ชุด เป็นแบบ ฝ.30 พิเศษ จำนวน 4 ถัง ราคาก่อสร้าง 35,000 บาท ( สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน ) และทำการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 17 มีนาคม
พุทธศักราช 2531
ปีงบประมาณ 2535 ทางโรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มอีก 1หลัง เป็นแบบ ป.1 ฉ ขนาด 3ห้องเรียน ราคาก่อสร้าง 726,000 บาท ( เจ็ดแสนสองหมื่นหกพันบาทถ้วน ) เริ่มก่อสร้างวันที่ 27 เมษายน 2535 และแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม 2536
ปี พ.ศ. 2536 นายพะแลเปื่อย และนายดิ๊เหย่ บริจาคที่ดินซึ่งติดกับโรงเรียนด้าน ทิศตะวันออกให้โรงเรียนจำนวน 1 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา โรงเรียนบ้านขุนห้วยแม่ต้านปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 4 ไร่ 3 งาน 77 ตารางวา
ปีงบประมาณ 2545 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมแบบสปช.601/26 จำนวน 1 หลัง มี 2 ที่นั่ง ราคาก่อสร้าง 45,000 บาท ( สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน )

ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนอนุบาลจาก ผู้มีจิตศรัทธา คือ คุณตา เหลือง รัศมีเจริญ โดยได้รับงบประมาณ 150,000 บาท ในการก่อสร้างและเปิดใช้งานในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550

ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนได้รับงบประมาณจำนวน 2,188,000 บาท ในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.105/29 แบบ 4 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก ชมรมสานฝันปันโอกาสในการก่อสร้างโรงอาหาร เอื้อชูยศ ด้วยงบประมาณ 150,000 บาท

ปัจจุบันโรงเรียนบ้านขุนห้วยแม่ต้านมี นายอุทัย กันธวัง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งมาดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2546 และมีครูผู้สอนจำนวน 5 คน คือ 1. นายอิศยม เครือคำแดง 2. นางธัญลักษณ์ กาวินำ 3. นางสาวปรัศนีใจ กุนนะ 4. นางสาวทิพมาศ สุริทะรา 5. นางสาวปาริชาต แสงพานิช โรงเรียนเปิดทำการสอนตั่งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถม-ศึกษาปีที่ 6 รวม 8 ห้องเรียน มีนักเรียนชาย 75 คน นักเรียนหญิง 75 คน รวมทั้งสิ้น 150 คน

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ฤดูแล้ง..!!!



น้ำที่ใช้เป็นน้ำบ่อทราย ตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้านทั่ว ๆ ไป แต่หากต้องการให้ปลอดภัยมากขึ้นสามารถนำไปต้มให้ปลอดภัยขึ้นได้อีก

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ฤดูแล้ง..!!!




ในฤดุแล้ง ชาวบ้านและนักเรียนต้องใช้น้ำจากลำห้วยที่ไหลผ่านในหมู่บ้าน เนื่องจากระบบน้ำประปาภูเขาไม่สามารถใช้งานได้